| ||||
THE HISTORY OF GOLF
| ||||
กีฬากอล์ฟเกิดขึ้นมายาวนานมาก แต่จะหาหลักฐานว่ากอล์ฟเกิดขึ้นครั้งแรกที่ใด ใครเป็นผู้ริเริ่มการเล่น ยังหาหลักฐานที่แน่ชัดไม่ได้ จะมีหลักฐานเป็นรูปวาดหรืองานศิลปะที่มีการเล่นกีฬาคล้ายกอล์ฟอยู่มากมายหลายประเทศ แต่ก็ยังหาข้อสรุปหรือความชัดเจนไม่ได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬากอล์ฟหรือไม่ อย่างย้อนหลังไปสองพันปี สมัยชาวโรมัน ก็มีหลักฐานเป็นภาพวาดและภาพปูนปั้น ที่ชาวโรมันเล่นเกมส์ที่ใช้ไม้ปลายโค้งงอตีลูกกลมๆ โดยเรียกเกมส์นี้ว่า “ Paganica” ที่ประเทศฮอลแลนด์ในช่วงศตวรรษที่13 ก็มีการเล่นกีฬาคล้ายกอล์ฟเรียกกันว่า “KOLF” ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินเรือ และลูกกอล์ฟขนนก “Feathery” ก็ผลิตในฮอลแลนด์และส่งไปขายยังสก็อตแลนด์เป็นจำนวนมากในช่วงศควรรษที่ 16 ก็เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่ากีฬากอล์ฟเกิดที่ประเทศฮอลแลนด์ได้เช่นเดียวกัน | ||||
หรือแม้แต่ประเทศในทวีปเอเชีย อย่างประเทศญี่ปุ่น ก็พบรูปวาดโบราณที่แสดงให้เห็นว่าหญิงโสเภณีชั้นสูงของญี่ปุ่น เล่นกีฬาชนิดหนึ่ง โดยใช้ไม้ปลายงอตีลูกกลมๆคล้ายกับการเล่นกอล์ฟเช่นกัน ล่าสุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 มีหลักฐานใหม่เกี่ยวกับต้นกำเนิดของกอล์ฟ ค้นพบโดยศาสตราจารย์ Ling Hongling จากมหาวิทยาลัยหลานโจ่ว ซึ่งชวนให้เชื่อได้ว่า มีกีฬาซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกอล์ฟในปัจจุบันในประเทศจีน ตั้งแต่ห้าร้อยปีก่อนการกล่าวถึงกอล์ฟในสกอตแลนด์ บันทึกจากสมัยราชวงศ์ซ่ง มีการกล่าวถึงเกมส์ฉุยหวาน และมีภาพวาดด้วย เกมนี้มีการใช้ไม้สิบชนิด ซึ่งรวมถึงไม้ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับไดรเวอร์ หัวไม้สอง และหัวไม้สามด้วย ไม้ต่างๆมีการประดับด้วยหยกและทอง ทำให้เชื่อว่าเป็นกีฬาสำหรับผู้มีฐานะร่ำรวย ศาสตราจารย์หลิงเชื่อว่ากีฬากอล์ฟถูกนำเข้าสู่ยุโรป และต่อมาสกอต์แลนด์โดยนักเดินทางชาวมองโกลในช่วงปลายยุคกลาง ซึ่งก็เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมาก | ||||
แต่ที่สก็อตแลนด์ถูกกล่าวถึงว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬากอล์ฟ ก็เพราะคนสก็อตแลนด์นิยมเล่นกอล์ฟกันมากเล่นกันมานานและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เช่น ในปี ค.ศ.1457 โดยกษัตริย์เจมส์ที่ 2 ได้มีกฏหมายออกมาว่าห้ามมิให้ผู้ใดเล่นกีฬากอล์ฟอีกต่อไป อันเนื่องมาจากชาวสก็อตแลนด์เฝ้าแต่เล่นกอล์ฟกันจนไม่มีเวลาทำการซ้อมรบ ซึ่งจะเป็นอันตรายกับประเทศชาติ แต่ในที่สุดกฏหมายนี้ก็ต้องยกเลิกไป เพราะพวกขุนนางหรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังแอบเล่นกีฬากอล์ฟกันอยู่ ในสมัยของกษัตริย์เจมส์ที่ 4 หรือประมาณ 50 ปี หลังจากออกกฎหมายการห้ามเล่นกีฬากอล์ฟ | ||||
หรือหลักฐานจากพระนาง Mary Queen of Scott ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เจมส์ที่ 5 ทรงเล่นกอล์ฟและให้นักเรียนนายร้อย (Cadet) เป็นผู้แบกถุงกอล์ฟให้ ซึ่งต่อมาอาจเป็นคำเริ่มต้นที่ใช้เรียกคนแบกถุงกอล์ฟว่า แค๊ดดี้ (Caddie) ก็เป็นได้ในปัจจุบัน | ||||
สนามกอล์ฟในเมือง Leith ถือเป็นสนามกอล์ฟแห่งแรกของสก๊อตแลนด์ ที่มีรูปแบบการเล่นเป็นมาตรฐาน เช่นในปัจจุบัน โดยมีอยู่ด้วยกัน 5 หลุม และยังมีสนามกอล์ฟเกิดขึ้นมากมายในกลางศตวรรษที่ 16 เช่น St.Andrews, Perth, Montrose, Dornoch, Banff, North Inch และ Aberdeen | ||||
สนามกอล์ฟ The Royal Blackheath Golf Club คือ สนามกอล์ฟแห่งแรกของประเทศอังกฤษ
| ||||
กีฬากอล์ฟในสก๊อตแลนด์ เริ่มมีการอิ่มตัว และมีเหตุการณ์ในทางการเมือง ทำให้กีฬากอล์ฟถูกลดความสนใจลงไป และหยุดการพัฒนาลงไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 | ||||
แต่หลังจากการเมืองสงบลง กีฬากอล์ฟก็กลับมาเป็นที่นิยมดังเดิม ในปีคศ. 1850 กีฬากอล์ฟเริ่มแพร่หลาย เข้าสู่เมืองอาณานิคมอังกฤษ และเริ่มเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กีฬากอล์ฟได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ก็เพราะอุปกรณ์การเล่นมีราคาถูกลง มีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมทั้งไม้กอล์ฟและลูกกอล์ฟ อีกทั้งการคมนาคมก็สะดวกมากยิ่งขึ้นทั้งทางรถไฟและทางเรือ | ||||
จากนั้นเป็นต้นมา กีฬากอล์ฟก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับความนิยมไปทั่วโลก ทำให้มีจำนวนนักกอล์ฟนับร้อยล้านคนทั่วโลก สนามกอล์ฟก็มีการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของนักกอล์ฟ และอาชีพนักกอล์ฟอาชีพซึ่งสามารถทำรายได้และชื่อเสียงให้กับตัวของนักกอล์ฟเอง จนเป็นเป้าหมายให้กับนักกอล์ฟรุ่นใหม่ๆจำนวนมาก ที่พยายามขึ้นไปยืนอยู่ ณ จุดนั้นให้ได้ อีกทั้งอุตสาหกรรมของกีฬากอล์ฟก็เติบโตอย่างรวดเร็ว มีเม็ดเงินมหาศาลที่หมุนเวียนอยู่ในโลกของกีฬากอล์ฟ อีกทั้งกีฬากอล์ฟเป็นกีฬาที่มีความท้าทายสูง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จนอาจจะกล่าวได้ว่ากีฬากอล์ฟเป็น
“ GAME OF THE WORLD” | ||||
| ||||
ค.ศ. 1457 กษัตริย์เจมส์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ ออกกฏหมายห้ามมิให้มีการเล่นกอล์ฟ เพราะเหล่าขุนนางและทหารไม่สนใจในการฝึกซ้อมการรบฝึกทหารมัวแต่ไปเล่นกอล์ฟกัน ค.ศ. 1491 กษัตริย์เจมส์ที่ 4 ก็ยังทรงตอกย้ำถึงกฏหมายการเล่นกอล์ฟ แต่ภายหลังก็ต้องมีการยกเลิกกฏหมายนี้ เพราะพระองค์เองก็ยังทรงแอบเล่นกีฬากอล์ฟเสียเองจนเป็นที่กล่าวขานกันของประชาชน ค.ศ. 1735 มีการก่อตั้งสโมสร(club) เป็นครั้งแรกชื่อ The Royal Burgess Society Of Edinburgh | ||||
ค.ศ. 1744 สโมสร The Honoureble Company Of Edinburgh Golfers จัดให้มีการแข่งขันกอล์ฟขึ้น โดยผู้ชนะจะได้ไม้กอล์ฟที่ทำจากเงินซึ่งถือว่าเป็นการแข่งขันที่เป็นทางการครั้งแรกในโลก | ||||
ค.ศ. 1754 สโมสร The Royal And Ancient Golf Club ได้สร้างกฏกติกาของการเล่นกอล์ฟขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นมีข้อกำหนดไว้ 13 ข้อ ซึ่งยังยึดถือเป็นแบบอย่างของกติกากอล์ฟในปัจจุบัน | ||||
ค.ศ. 1764 สนามเซ็นท์แอนดรูว์ส ถูกปรับปรุงและลดจาก 22 หลุม เป็น 18 หลุม และถือเป็นแบบอย่างของสนามกอล์ฟในปัจจุบันที่มีทั้งหมด 18 หลุม | ||||
ค.ศ. 1829 สนามรอยัล กัลกัตต้า กอล์ฟคลับในประเทศอินเดีย เป็นสโมสรที่อยู่นอกเกาะอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดและยังเปิดดำเนินการอยู่ (Royal Calcutta Golf Club) | ||||
ค.ศ. 1860 เริ่มมีการแข่งขัน บริทิชโอเพ่น เป็นครั้งแรกโดยมีนักกอล์ฟอาชีพร่วมแข่งขัน 8 คน แชมป์ตกเป็นของ วิลลี่ พาร์ค
| ||||
ค.ศ. 1881 Robert Lockhart ชาวสก็อตแลนด์อพยพเข้าไปอยู่ในอเมริกา โดยซื้อไม้กอล์ฟไป 6 ชิ้น และลูกกอล์ฟ 2 โหล จาก Tom Moris ในสนาม St. Andrews และได้ลองตีไม้กอล์ฟครั้งแรกใกล้กับ Hudson River เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่ได้ตีกอล์ฟบนแผ่นดินอเมริกา ซึ่งอันที่จริงแล้วกีฬากอล์ฟได้เข้าสู่แผ่นดินอเมริกาก่อนหน้านี้ประมาณ 100 ปี มาแล้วแต่ไม่ได้มีการจดเป็นบันทึกหลักฐานที่แน่นอน | ||||
ค.ศ. 1894 USGA ( The United States Golf Association) ถูกสถาปนาขึ้น โดยการรวมตัวกันของสโมสรกอล์ฟ 5 แห่ง ได้แก่ Newport Golf Club , Shinnecock Hill Golf Club , The Country Club , St.Andrew’s Golf Club (Yonkers,N.Y.) และ Chicago Golf Club โดย USGA เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดกติกากอล์ฟที่ใช้ในหมู่สมาชิก , การคิดคำนวนแต้มต่อของนักกอล์ฟ และ USGA เป็นเจ้าของรายการเมเจอร์ 1 รายการ นั่นก็คือ รายการ U.S. OPEN
| ||||
และทั้งหมดนี้ก็คือประวัติศาสตร์กีฬากอล์ฟ ที่มีการจดบันทึกข้อมูลจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1900 หลังจากนั้นกีฬากอล์ฟก็มีวิวัฒนาการณ์และเหตุการณ์อีกมากมาย ซึ่งจะนำมานำเสนอในโอกาสหน้าต่อไป
ขอบคุณข้อมูลดีๆ : http://www.golfprojack.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538847686&Ntype=2
|
วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ประวัติกอล์ฟ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น